ทันตกรรมบูรณะ อุดฟัน ครอบฟัน
ทันตกรรมบูรณะ/อุดฟัน (Restoratives)
เมื่อส่วนหนึ่งของฟันมีความเสียหาย เราสามารถซ่อมแซมโดยการบูรณะฟันบางส่วนได้หลายวิธี
สาเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหายของฟัน
• ฟันผุ
• ฟันแตกจากอุบัติเหตุ
• ฟันร้าว
• ฟันสึกจากกรดกัด
• ฟันสึกจากการนอนกัดฟัน หรือเค้นฟัน
ซึ่งการบูรณะฟันทันตแพทย์จะพิจารณาลักษณะการเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อวางแผนการบูรณะที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม วิธีการบูรณะฟันได้แก่
1. การอุดฟันเป็นวิธีการเปลี่ยนฟันที่เสียหายให้สามารถใช้งานได้เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่นฟันที่บิ่นจากอุบัติเหตเพียงเล็กน้อย สามารถบูรณะได้ด้วยการอุดฟัน
การอุดฟันมี 2 ประเภท
–การอุดฟันด้วยสีเหมือนฟัน
–การอุดฟันด้วยวัสดุสีเงิน
2. อินเลย์/ออนเลย์ (Dental inlays and Dental onlays)
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับบูรณะฟันที่ผุ บิ่น หรือร้าว ขนาดกลาง ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถอุดธรรมดาได้เพราะโอกาสที่วัสดุอุดแตกมีสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื้อฟันก็ต้องมีเหลือมากพอที่ไม่ต้องถึงกับต้องทำครอบฟัน อินเลย์และออนเลย์สามารถทำขึ้นจากพอร์ซเลน คอมโพสิทเรซิน หรือแม้กระทั่งโลหะ
อินเลย์ Dental Inlays ใช้สำหรับบูรณะรอยผุ หรือความผิดปกติที่เกิดภายในขอบเขตของด้านบดเคี่ยวของฟัน
ออนเลย์ Dental Onlays ใช้สำหรับบูรณะรอยผุหรือความผิดปกติที่กินบริเวณกว้างมากกว่า 1 ด้านอาจถึงหลายด้านมากกว่าอินเลย์ แต่ยังไม่ถึงกับมีความจำเป็นต้องทำครอบฟัน การทำออนเลย์จะช่วยรักษาเนื้อฟันได้มากกว่าการเตรียมฟันเพื่อทำครอบฟัน
ข้อดีของอินเลย์ / ออนเลย์
• ช่วยลดอาการเสียวฟัน และหยุดการลุกลามของฟันผุ
• สามารถทำได้จากวัสดุสีเหมือนฟันอันได้แก่ พอร์ซเลน และ คอมโพสิตเรซินซึ่งทำให้ฟันหลังการบูรณด้วยอินเลย์ / ออนเลย์ดังกล่าวมีความสวยงามใกล้เคียงธรรมชาติ ยากที่จะแยกออก
• การบูรณะฟันด้วยอินเลย์/ออนเลย์ไม่จำเป็นต้องกรอฟันเยอะ ทันตแพทย์สามารถรักษาเนื้อฟันที่ดีไว้ได้มาก
• การบูรณะฟันด้วยอินเลย์/ออนเลย์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟันมากขึ้นกว่า 75%
• วัสดุที่นำมาใช้ทำอินเลย์/ออนเลย์มีความคงทนกว่าวัสดุอุดทั่วไป
• การเปลี่ยนวัสดุอุดสีเงิน (Amalgam) เป็นอินเลย์/ออนเลย์สีเหมือนฟัน นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงแล้ว ยังทำให้ฟันหลังการบูรณะมีความสวยงามดูเป็นธรรมชาติ และดูมีสุขภาพดี
• การบูรณะฟันผุด้วยอินเลย์ / ออนเลย์จะช่วยลดการรักษาที่ยุ่งยากกว่าในอนาคต
3. ครอบฟัน คือ ฟันเทียมติดแน่นที่ใช้ทดแทน บูรณะ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน ปกป้องฟันที่ได้รับควาเสียหาย แตกหัก หรือได้ผ่านการรักษารากฟัน โดยทันตแพทย์ตกแต่งรูปร่างของฟันซี่นั้นๆแล้วสวมครอบฟันลงไป
ข้อดีการบูรณะด้วยครอบฟัน
• ครอบฟันสามารถแก้ไข้รูปร่างและสีฟัน ให้มีความสวยงามได้
• ครอบฟัน ช่วยป้องกันฟันที่อ่อนแอ เนื่องจากการแตกหัก บิ่น ฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ ฟันที่รักษารากฟันแล้ว
• ครอบฟัน มีความคงทนถาวรมากกว่าวัสดุอุดฟันโดยทั่วไป
ข้อเสียของการครอบฟัน
• การทำครอบฟันนั้นจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกปริมาณมากกว่าการอุดฟัน การทำอินเลย์ หรือ ออนเลย์
• การกรอแต่งฟันเพื่อทำครอบฟันนั้นมีโอกาสทำอันตรายต่อโพรงประสาทฟันได้
• ราคาแพงเมื่อเทียบกับการอุดฟัน
• ใช้เวลามากกว่าการอุดฟัน โดยปกติจะใช้เวลา 1-2 ครั้งของครอบฟัน
ประเภทของครอบฟัน
1. ครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ
2. ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน
3. ครอบฟันแบบโลหะล้วน
การรักษาด้วยการทำครอบฟัน
1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
• ฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อทำครอบฟันเพื่อลดอาการเสียวฟันขณะกรอฟัน
• กรอฟันให้เล็กลงและมีพื้นที่เพียงพอเพื่อให้วัสดุทำครอบฟันทีขนาดเหมาะสม
• บันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันและอาจใช้วิธีการถ่ายรูปร่วมด้วย
• พิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
• แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำครอบฟัน
• ทันตแพทย์จะทำการติดครอบฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอ
2. ขั้นตอนการติดครอบฟัน
• รื้อครอบฟันแบบชั่วคราวออก แล้วทำความสะอาด
• ยึดครอบฟันแบบถาวรบนฟัน ตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีการกัดสบเป็นปกติและรูปร่างเหมาะสม
3. ขั้นตอนการดูแลรักษา
• ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาด การใช้ไหมขัดฟัน เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน